475 จำนวนผู้เข้าชม |
สูดฝุ่น PM 2.5 เรื้อรัง กระตุ้นกลายพันธุ์ยีนส์ EGFR-KRAS เสี่ยงมะเร็งปอด
มลภาวะทางอากาศอย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 กำลังทวีความรุนแรงและกลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก PM2.5 แล้วกว่า 71,184 ราย (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม)
อันตรายที่ส่งผลต่อร่างกายจากฝุ่น PM 2.5
1.ฝุ่นละออง PM 2.5 ถือเป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอดได้โดยที่เราไม่รู้สึกตัว
2. ส่งผลให้ปอดเกิดอาการอักเสบ โดยสาเหตุดังกล่าวไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะสั้น เช่น แสบตา แสบจมูก ระคายเคืองตา ภูมิแพ้กำเริบเป็นต้น
3. หากได้รับฝุ่นละออง PM2.5 ในปริมาณมากและต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบในระยะยาวทำให้เกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
“นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ข้อมูลใหม่จากการศึกษาวิจัยในงานประชุมวิชาการทางการแพทย์นานาชาติ European Society for Medical Oncology (ESMO) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่ามลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการกลายพันธุ์ของยีนชนิด EGFR และ KRAS ในเซลล์ระบบทางเดินหายใจซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งปอดได้”
ป้องกันมะเร็งปอดจาก PM 2.5 : หลีกเลี่ยง ลดความเสี่ยง ตรวจคัดกรอง
1. หลีกเลี่ยง พื้นที่ที่มีมลพิษสูงกิจกรรมกลางแจ้งงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสอง
2. ลดความเสี่ยง ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ปลูกต้นไม้ ช่วยดูดซับมลพิษ ลดการเผาไหม้ หลีกเลี่ยงการเผาไหม้ขยะ
3. ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูบบุหรี่ ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง ผู้ที่มีโรคประจำตัว
การตรวจคัดกรองด้วย "genechecks" หาความผิดปกติของยีนในร่างกายที่ลงลึกถึงระดับดีเอ็นเอ สามารถตรวจหาความเปลี่ยนแปลงหรือการกลายพันธ์ของยีนได้อย่างแม่นยำ ด้วยเทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) และแปรผลด้วยระบบ AI บนฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือระดับสากล ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับโลก CAP-certificated โดย genechecks สามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคร้ายแรง 45 ชนิด ได้แก่ มะเร็งต่างๆ 13 ชนิด รวมถึงมะเร็งปอด เส้นเลือดในสมองตีบ อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน เป็นต้น
ที่มา: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5920433/