สูดฝุ่น PM 2.5 เรื้อรัง กระตุ้นกลายพันธุ์ยีนส์ EGFR-KRAS เสี่ยงมะเร็งปอด!

354 Views  | 

มะเร็งปอด

“สูดฝุ่น PM 2.5 เรื้อรัง” กระตุ้นกลายพันธุ์ยีนส์ EGFR-KRAS เสี่ยงมะเร็งปอด!

มลภาวะทางอากาศอย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 กำลังทวีความรุนแรงและกลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก PM2.5 แล้วกว่า 71,184 ราย (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม)

→ อันตรายที่ส่งผลต่อร่างกายจากฝุ่น PM 2.5

1. ฝุ่นละออง PM 2.5 ถือเป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอดได้โดยที่เราไม่รู้สึกตัว

2. ส่งผลให้ปอดเกิดอาการอักเสบ โดยสาเหตุดังกล่าวไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะสั้น เช่น แสบตา แสบจมูก ระคายเคืองตา ภูมิแพ้กำเริบเป็นต้น

3. หากได้รับฝุ่นละออง PM2.5 ในปริมาณมากและต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบในระยะยาวทำให้เกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด

“นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ข้อมูลใหม่จากการศึกษาวิจัยในงานประชุมวิชาการทางการแพทย์นานาชาติ European Society for Medical Oncology (ESMO) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่ามลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการกลายพันธุ์ของยีนชนิด EGFR และ KRAS ในเซลล์ระบบทางเดินหายใจซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งปอดได้”

→  ป้องกันมะเร็งปอดจาก PM 2.5 : หลีกเลี่ยง ลดความเสี่ยง ตรวจคัดกรอง

1. หลีกเลี่ยง
พื้นที่ที่มีมลพิษสูง: ตรวจสอบสภาพมลพิษทางอากาศก่อนออกจากบ้าน หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษสูง
กิจกรรมกลางแจ้ง: จำกัดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษ
ควันบุหรี่: งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสอง 

2. ลดความเสี่ยง
ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ: ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว
ปลูกต้นไม้: ช่วยดูดซับมลพิษ
ลดการเผาไหม้: หลีกเลี่ยงการเผาไหม้ขยะ

3. ตรวจคัดกรอง
กลุ่มเสี่ยง: ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูบบุหรี่ ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง ผู้ที่มีโรคประจำตัว

การตรวจคัดกรองด้วย "

Powered by MakeWebEasy.com